นิยามศัพท์
สาธารณภัย หมายถึง อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง ภัยหนาว โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาด ในสัตว์ โรคระบาดในสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่นๆอันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิดจากธรรมชาติ ภัยที่มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย (พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พ.ศ. 2550)

ภัยทางอากาศ หมายถึง ภัยอันเกิดจากการโจมตีทางอากาศ (พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พ.ศ. 2550)

ภัยด้านความมั่นคง หมายถึง ภัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ เช่น ภัยจากการ ก่อวินาศกรรม ภัยจากการก่อการร้าย ภัยจากทุ่นระเบิด ภัยทางอากาศ การก่อการจลาจลภัยจากการสู้รบและภัยจาก การสงคราม เป็นต้น ตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันประเทศ และกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

การก่อวินาศกรรม หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวนขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใด ๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมือง การเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติโดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ

วาตภัย หมายถึง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุลมแรง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ วาตภัยจากพายุ ฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน บางครั้งจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำความเสียหายได้ ในบริเวณเล็ก ๆ ช่วงเวลาสั้น ๆ และวาตภัยจากพายุหมุนเขตร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เมื่อพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งจะทำความเสียหายให้บริเวณที่เคลื่อนผ่านเป็นอย่างมาก

อุทกภัย หมายถึง ภัยและอันตรายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมขัง หรือน้ำท่วมฉับพลันมีสาเหตุมาจาก การเกิดฝนตกหนักหรือฝนตกต่อเนื่อง เป็นเวลานานสามารถแบ่งได้ดังนี้ อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันเกิดขึ้น เมื่อมีฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้จำนวน น้ำสะสมมีปริมาณมากจนพื้นดิน และต้นไม้ดูดซับไม่ไหวไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ำเบื้องล่างอย่างรวดเร็ว และอุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อล้นเกิด จากน้ำในแม่น้ำลำธารล้นตลิ่งหรือมีระดับสูงจากปกติ เอ่อท่วมล้นไหลบ่าออกจากระดับตลิ่งในแนวราบจากที่สูงไปยังที่ต่ำหรือเป็นสภาพน้ำท่วมขังในเขตเมืองใหญ่ ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานานและมีระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ

ความแห้งแล้งหรือภัยแล้ง หมายถึง ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน ฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาลจน ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชนส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกต ิหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลกับการเคลื่อนผ่านของพายุหมุนเขตร้อนที่น้อยกว่าปกติ

พายุฝนฟ้าคะนอง หมายถึง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากน้ำท่วมฉับพลัน และอาจเกิดพายุลมหมุนหรือพายุงวงช้าง ซึ่งมีลมแรงมากและทำความเสียหายบริเวณที่เคลื่อนผ่านโดยเฉพาะในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงกว่าปกติจนเกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า “ พายุฤดูร้อน ” ส่วนบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ที่อยู่ในละติจูดที่สูงขึ้นไปมักจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน

แผ่นดินไหว หมายถึง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานใต้พิภพ ทำให้แผ่นดินเกิดการสั่นสะเทือนอาจทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินเลื่อนและถล่ม แผ่นดินไหวหรือการสั่นสะเทือนของพื้นดิน เกิดขึ้นได้ทั้งจากการกระทำของธรรมชาติและมนุษย์

แผ่นดินถล่ม หมายถึง ปรากฏการณ์ธรรมชาติของการสึกกร่อนชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินสูงหรือภูเขาที่มีความลาดชันมาก เนื่องจากขาดความสมดุลในการทรงตัวบริเวณดังกล่าว แผ่นดินถล่มมักเกิดในกรณีที่มีฝนตกหนักมากบริเวณภูเขา และภูเขานั้นอุ้มน้ำไว้ จนเกิดการอิ่มตัวโดยเฉพาะหินแกรนิต ซึ่งมีพันธุ์ไม้ปกคลุมน้อยและต้นน้ำลำธารถูกทำลายมักจะเกิดเมื่อมีฝนตกหนักหลายชั่วโมง

ไฟป่า หมายถึง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การเผาหาของป่า เผาทำไร่ เลื่อนลอย เผากำจัดวัชพืช มีเพียงส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้ง ไฟป่า ทำให้เกิดมลพิษในอากาศมากขึ้น

ภัยจากสารเคมี หมายถึง ภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น สารเคมีเกิดหกรั่วไหล เพลิงไหม้หรือการระเบิดของสารเคมีในระหว่างการขนส่ง เป็นต้น

อัคคีภัย หมายถึง ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้ง ต่อร่างกายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมาก องค์ประกอบสำคัญของการติดไฟได้แก่ ปฏิกิริยาระหว่างความร้อน เชื้อเพลิง และออกซิเจนในอากาศ ซึ่งปกติเราไม่สามารถควบคุมออกซิเจนได้ เพราะโดยปกติจะมีออกซิเจนผสมอยู่ในอากาศโดยธรรมชาติ

ภัยด้านความมั่นคง หมายถึง ภัยที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ เช่น ภัยจากการ ก่อวินาศกรรม ภัยจากการก่อการร้าย ภัยจากทุ่นระเบิด ภัยทางอากาศ การก่อการจลาจลภัยจากการสู้รบ และภัยจากการสงคราม เป็นต้น ตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันประเทศ และกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน

ภาวะไม่ปกติ หมายถึง ภาวะในระหว่างเวลาที่ประเทศมีภัยจากการกระทำของศัตรูอย่างรุนแรง ทั้งจากภัยในประเทศ จากการรุกรานภายนอกประเทศ จนถึงขั้นที่จะต้องมีการระดมสรรพกำลังของชาติ ประชาชนจะมีความหวาดกลัวต่อภัยสงคราม ขาดขวัญและกำลังใจ ไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

การเฝ้าระวัง (Watch) และการเตือนภัย (Notification) หมายถึง การสื่อสารเพื่อแจ้งข้อมูลและข่าวสารเพื่อเตือนภัยอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์ โดยประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยมีโอกาสและเวลาเพียงพอในการรับมือกับภัยพิบัติ การแจ้งเตือนภัยจะต้องดำเนินการผ่านองค์การ สถาบันหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น

การเตรียมความพร้อม (Preparedness) หมายถึง มาตรการและกิจกรรมที่ดำเนินการล่วงหน้าก่อนเกิดภัย เพื่อเตรียมความพร้อมการจัดการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบจากภัยพิบัติได้อย่างทันการณ์และประสิทธิภาพ

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หมายถึง วิธีการหรือกระบวนการในการระบุลักษณะรูปแบบขนาด และความรุนแรงของความเสี่ยง โดยการวิเคราะห์ภัยและความล่อแหลมเพื่อประเมินโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดภัยพิบัติ และผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณชน ทรัพย์สิน สภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม

การจัดการระบบการเตรียมความพร้อมการป้องกันภัยพิบัติ (Incident Management System) หมายถึง การจัดตั้งองค์กร และการบริการจัดการทรัพยากร เพื่อรับผิดชอบในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมรับ และการฟื้นฟูบูรณะ การจัดการในภาวะฉุกเฉินจะเริ่มจากกระบวนการวางแผนการจัดโครงสร้างการประสานงานและร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐ องค์กรเอกชนและภาคประชาชน ในการเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้านเพื่อรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

การฟื้นฟู (Rehabilitation) หมายถึง การซ่อมแซมเบื้องต้นในทันทีเพื่อทำปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งบริการพื้นฐานที่จะเป็นดำเนินการ และใช้งานได้

การจัดระบบบัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน (Incident Command System) หมายถึง การจัดการระบบทั้ง Public Health และ Hospital Incident Command System (HICS)

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service : EMS ) หมายถึง การจัดให้มีการระดมทรัพยากรในพื้นที่หนึ่งๆ ให้สามารถช่วยเหลือในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทั้งภาวะปกติและในภาวะ ภัยพิบัติ โดยจัดให้มีระบบการรับแจ้งเหตุ ระบบการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ระบบการลำเลียง ขนย้ายและการส่งต่อผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้แก่โรงพยาบาลที่เหมาะสมได้อย่างมีคุณภาพ และรวดเร็วเป็นระบบที่ควบคุมดูแล รับผิดชอบโดยแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง

Pre Hospital care หมายถึง การดูแลผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ โดยมีหน่วยบริการ ALS BLS FR มีการสื่อสารระหว่างหน่วยจุดคัดกรอง การส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสม

หน่วยบริการระดับสูง (Advance life Support: ALS) หมายถึง หน่วยบริการที่มีศักยภาพ ในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่อยู่ในภาวะวิกฤติ ปัจจุบันมีหน่วยดังกล่าวกระจายอยู่ตามโรงพยาบาลศูนย์ / ทั่วไป / ชุมชน

หน่วยบริการระดับพื้นฐาน (Basic life Support: BLS) หมายถึง หน่วยบริการที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีอาการอยู่ ในระดับปานกลาง โดยปัจจุบันมีหน่วยบริการกระจายอยู่ตามมูลนิธิและโรงพยาบาล

หน่วยบริการระดับตำบล (First Responder: FR) หมายถึง หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมใน การจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินมีอาการเล็กน้อยสู่โรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีหน่วยกระจายอยู่ทั่วประเทศ

การแพทย์ฉุกเฉิน หมายความว่า การปฏิบัติการฉุกเฉิน การศึกษา การฝึกอบรม การค้นคว้า และการวิจัยเกี่ยวกับการประเมิน การจัดการ การบำบัดรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน และการป้องกันการเจ็บป่วย ที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน

ผู้ป่วยฉุกเฉิน หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นภยันตราย ต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมินการจัดการและ การบำบัดรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น

สถานพยาบาล หมายความว่า สถานพยาบาลของรัฐ สถานพยาบาลสภากาชาดไทย สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และสถานพยาบาลอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

หน่วยปฏิบัติการ หมายความว่า หน่วยงานหรือองค์กรที่ปฏิบัติการฉุกเฉิน

ผู้ปฏิบัติการ หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินตามที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด

War Room หมายความว่า การเปิดศูนย์บริการภัยพิบัติของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ได้รับมอบหมาย และผู้แทนระดับสูงหรือผู้แทนของกรมต่างๆ เข้าประชุมเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามภาวะกิจของกรมนั้น ๆ ตามคู่มือการบริการจัดการงานสาธารณภัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2549

โรงพยาบาลสนาม หมายความว่า สถานพยาบาลที่ตั้งขึ้นชั่วคราวภายใน 24 ชั่วโมง ในสถานที่ปลอดภัยตรงตามความต้องการของประชาชน และในการเข้าถึงประชาชน เพื่อที่บุคลากรให้บริการการแพทย์ได้ปฏิบัติงานเต็มศักยภาพในการรับผู้ประสบภัยที่อพยพจากพื้นที่อันตราย

Mobile Team หมายความว่า หน่วยปฏิบัติการและผู้ปฏิบัติการพิเศษของแต่ละกรมของกระทรวงสาธารณสุข ที่ส่งไปสนับสนุนในการเกิดสาธารณภัย

องค์การอนามัยโลก ( WHO) ได้ให้คำจำกัดความของ “ภัยพิบัติ” ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายกระทบต่อระบบนิเวศน์ ที่มีผลต่อ การสูญเสียชีวิต หรือ ทำลายสุขภาพและการบริการสุขภาพ ซึ่งมีขนาดถึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากภายนอกชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

การจำแนกภัยพิบัติ การจำแนกภัยพิบัติเรียงตามลำดับความซับซ้อนในการจัดการดังนี้

* ด้านกายภาพ : การบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางหลวง เครื่องบินตก รถไฟ ตกราง ตึกถล่ม พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ดินถล่ม ฯลฯ
* ด้านวัตถุอันตรายรั่วไหล : สารเคมี รังสี สารกัมมันตภาพรังสี
* ด้านชีวภาพ : การระบาดของโรคติดต่ออันตราย
* ด้านสังคม : การจลาจล การก่อการร้าย สงคราม