สถาณการณ์
 

สาธารณภัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม แผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม อุบัติเหตุกลุ่มชน การรั่วไหลของสารเคมี แก๊สระเบิด โรคระบาดในคน สัตว์ พืช การก่อการร้าย ฯลฯ ซึ่ง เป็นภัยที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมนุษย์ทำขึ้น ส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติ

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีประชากรอยู่หนาแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองและในย่านชุมชน ประกอบกับความเจริญเติบโตของเมือง ทำให้มีการก่อสร้างอาคารสูงขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งเป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆของภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิด สาธารณภัยในด้านต่างๆ ด้วยมีภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขาสูง มีเส้นทางคมนาคมสะดวกทั้งทางบกและอากาศ เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีโรงงานอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง มีเส้นทางในการขนส่งลำลียงสิ่งของทางการค้าหลากหลายเส้นทาง เป็นจังหวัดที่มีรอยเลื่อนที่มีพลัง ต่อการเกิดแผ่นดินไหวพาดผ่าน และเป็นจังหวัดรอยต่อกับจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้านที่มีรอยเลื่อนของการเกิดแผ่นดินไหวที่มีพลังด้วย สถิติการเกิดสาธารณภัยของจังหวัดเชียงใหม่มีดังนี้ (เรียงตามสถิติการเกิดภัยจากมากไปหาน้อย)

อุทกภัย / ดินโคลถล่ม
ปี พ . ศ.
จำนวนครั้ง ที่เกิดภัย (ครั้ง)
จำนวนครัวเรือน ที่ประสบภัย(ครัวเรือน)
พื้นที่ประสบภัย (อำเภอ)
เสียชีวิต (คน)
บาดเจ็บ (คน)
มูลค่าความเสียหาย (ล้านบาท)
2550
5
26 ,651
23
-
-
19 ,404 ,509
2551
2552
9
65 ,865
20
-
-
116 ,274 ,030
(ที่มา : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูล ณ วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2553)

อุทกภัยขนาดใหญ่ วันที่ 8 มิถุนายน 2552 เกิดฝนฟ้าคะนองสาเหตุจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ส่งผลให้ฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอ อมก๋อย พื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลอมก๋อย , ตำบลนาเกียน , ตำบลสบโขง , ตำบลแม่ตื่น , ตำบลม่อนจอง , ตำบลยางเปียง รวม 80 หมู่บ้าน 4,800 ครัวเรือน 32,000 คน

ภัยแล้ง
ปี พ . ศ.
จำนวนครั้ง ที่เกิดภัย (ครั้ง)
พื้นที่ประสบภัย(อำเภอ)
จำนวนครัวเรือนที่ประสบภัย (ครัวเรือน)
พื้นที่การเกษตรเสียหาย (ไร่)
จำนวนสัตว์ที่รับผลกระทบ (ตัว)
มูลค่าความเสียหาย (ล้านบาท)
2550
1
12
36 ,969
914 ,784
50 ,600
62 ,569 ,433
2551
1
18
49 ,742
34 ,286
1 ,320
2552
1
12
36 ,969
44 ,962
-
(ที่มา : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูล ณ วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2553)

ในช่วงเดือนตุลาคม –พฤษภาคม ของทุกปี จะเป็นช่วงที่ขาดฝนอากาศแห้งแล้ง ลมแรงมักเกิดอัคคีภัยเป็นประจำ ในแต่ละปีมีความเสียหายอันเนื่องมาจากอัคคีภัยคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท พื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ประกอบด้วย อำเภอแม่วาง , อำเภอหางดง , อำเภอแม่อาย , อำเภอ ไชยปราการ , อำเภอพร้าว , อำเภออมก๋อย , อำเภอสันกำแพง , อำเภอดอยหล่อ ซึ่งเกิดในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – ต้นเดือนพฤษภาคมของทุกปี

วาตภัย
ปี พ . ศ.
จำนวนครั้ง ที่เกิดภัย (ครั้ง)
พื้นที่ประสบภัย(อำเภอ)
จำนวนบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง (หลัง)
จำนวนบ้านเรือนเสียหายบางส่วน (หลัง)
มูลค่าความเสียหาย (ล้านบาท)
2550
2551
2552
6
5
-
1 ,977
9 ,016 ,240
(ที่มา : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูล ณ วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 )

ในช่วงกลางเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ของทุกปีจะมีลมพายุอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของอากาศ ทำให้บ้านเรือนประชาชน ตลอดจนพืชผลการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งลำไยจะถูกลมพายุพัดโค่นล้มเสียหายพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากลมพายุเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอแม่วาง , อำเภอไชยปราการ , อำเภอแม่แตง , อำเภอสะเมิง , อำเภอแม่แจ่ม , อำเภอสารภี , อำเภอฮอด , อำเภอหางดง , อำเภอดอยเต่า , อำเภออมก๋อย , อำเภอสันกำแพง    

อัคคีภัย
ปี พ . ศ.
จำนวนครั้ง ที่เกิดภัย (ครั้ง)
จำนวนบ้านเรือน เสียหาย(หลัง)
พื้นที่ประสบภัย (อำเภอ)
เสียชีวิต (คน)
บาดเจ็บ (คน)
มูลค่าความเสียหาย (ล้านบาท)
2550
51
51
18
-
-
16 ,115 ,200
2551
56
56
19
-
10 ,653 ,860
2552
96
1
-
563 ,300
(ที่มา : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูล ณ วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 )

อัคคีภัยเป็นสาธารณภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ส่วนใหญ่มาจากความประมาท เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การลุกไหม้จากการระเบิดตลอดจนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม สภาพอากาศร้อนอบอ้าว ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอัคคีภัยและไฟป่า แผ่นดินไหว / อาคารถล่ม ผลการวิจัยจากหน่วยงานต่างๆได้ระบุว่าพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีโอกาสที่จะเผชิญต่อภัยแผ่นดินไหวในอนาคตได้ เนื่องจากอยู่ใกล้เขตรอยต่อจังหวัดและประเทศใกล้เคียงที่มีรอยเลื่อนมีพลังพาดผ่าน และจังหวัดเชียงใหม่เคยเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาด 5.1 ริกเตอร์ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2549 และ วันที่ 19 มิถุนายน 2550 ขนาด 4.5 ริกเตอร์ แต่ไม่มีความเสียหายร้ายแรง
(ที่มา : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูล ณ วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 )

ภัยจากอุบัติเหตุจราจรทางถนน
ปี พ . ศ.
จำนวนครั้ง ที่เกิดเหตุ (ครั้ง)
สถานที่เกิดเหตุ
เสียชีวิต (คน)
บาดเจ็บ (คน)
มูลค่าความเสียหาย (ล้านบาท)
2550
5 ,416
-
245
28 ,036
-
2551
3 ,691
-
166
28 ,493
-
2552
5 ,607
-
253
29 ,289
-
(ที่มา : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูล ณ วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 )

จังหวัดเชียงใหม่ มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้จำนวนรถที่ใช้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดภัยจากการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และยังมีแนวโน้มการเกิดสาธารณภัยที่ซับซ้อนอื่นเช่น ภัยจากการขนส่งสารเคมีและวัตถุอันตราย      

ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย
ปี พ . ศ.
จำนวน ครั้ง ที่เกิดภัย
ประเภทของสารเคมี
พื้นที่ประสบภัย
สาเหตุ
เสียหาย (ครัวเรือน)
เสียชีวิต
บาดเจ็บ
มูลค่าความเสียหาย(ล้านบาท)
2550
1
พลุระเบิด
อ . สารภี
ประมาท
2
-
6
80 ,000
2551
-
-
-
-
-
-
-
-
2552
-
-
-
-
-
-
-
-
(ที่มา : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูล ณ วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2553 )

ประเทศไทยได้มีการนำวิทยากรและเทคโนโลยี รวมทั้งสารเคมีและวัตถุอันตราย มาใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆเป็นจำนวนมาก ทั้งในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งผลการนำมาใช้โดยขาดมาตรการการป้องกันในเรื่องความปลอดภัย จึงทำให้เกิดอุบัติภัย สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมในระดับรุนแรงดังที่เกิดมาแล้ว ในจังหวัดเชียงใหม่เกิดการระเบิดของโรงงานอบลำไย ที่อำเภอสันป่าตอง ซึ่งเกิดจากสารโปตัสเซียม ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 39 ราย